กลุ่มบริษัทน้ำตาลเอราวัณ - Workings
Workings

งานรวบรวมพันธุ์อ้อย

ศุนย์วิจัยและพัฒนา บริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด ได้รวบรวมพันธุ์อ้อยจากแหล่งต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  • เพื่อใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์อ้อย สำหรับการปรับปรุงพันธุ์อ้อย
  • เพื่อศึกษาและคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของจังหวัดหนองบัวลำภูและพื้นที่ใกล้เคียงและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เป็นท่อนพันธุ์นำไปปลูก

 

พันธุ์อ้อยในประเทศ

สำนักงานอ้อย และน้ำตาลทราย

มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์

กรมวิชาการเกษตร

แหล่งอื่นๆ

รวมจำนวน

เชื้อพันธุกรรมอ้อย (Germplasm)

- - 12 - 12

พันธุ์ที่จดทะเบียน

6 - 6 - 12

พันธุ์อ้อยทั่วไปที่อยู่ระหว่างการศึกษา

4 16 117 2 139

รวมทั้งหมด

10 16 135 2 163

พันธุ์อ้อยต่างประเทศ

จำนวน

Louisiana

-

Taiwan

6

Barbados

4

รวมทั้งหมด

10

 

งานปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์อ้อย

งานปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์อ้อย ที่ศูนย์วิจัยบ้านหนองด้วงได้ดำเนินการ แบ่งออกเป็น

  1. การปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีการผสมช่อดอก ( Conventional Method ) โดยการนำช่อดอกอ้อยที่คาดว่าจะให้ลูกผสมที่ดีมาผสมกัน นำเมล็ดที่ได้นำไปเพาะและปลูกลงแปลงเพื่อทำการคัดเลือก
  2. การปรับปรุงพันธุ์โดยใช้วิธีชีวโมเลกุล ( Molecular Method ) โดยการฉายรังสีแกรมม่า ( Grammar ) ที่ระดับความเข้มข้นต่างกัน เพื่อให้โมเลกุลเกิดการเปลี่ยนแปลง
  3. การปรับปรุงพันธุ์โดยใช้สารเคมี ( Poly Ethylene Glycol ) เพื่อคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่ทนแล้ง

 

ขั้นตอนการผสมพันธุ์อ้อยโดยการใช้ช่อดอก

 

ขั้นตอนการทำอ้อยฉายรังสีโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

 

 

วัสดุปรับปรุงดิน เอราวัณ

เป็นวัสดุที่เกิดจากการย่อยสลายกากหม้อกรองของโรงงาน ด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ( EM ) หลายชนิด ผ่านกระบวนการเพาะเลี้ยงด้วยเทคโนโลยีทันสมัย จนเป็นวัสดุปรับปรุงดินที่มีคุณภาพสูง ในการปรับโครงสร้างให้ดินร่วนซุย และยังอุดมไปด้วยธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) ธาตุอาหารรองแคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) ธาตุอาหารเสริมต่าง ๆและสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ยั่งยืน

 

ประโยชน์

ช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้มีโครงสร้าง และคุณสมบัติเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมให้กับพืช ทำให้อ้อยสมบูรณ์ มีคุณภาพ ทนต่อความแล้ง และศัตรูพืช


วิธีการใช้

พืชไร่อ้อย : ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด อัตราการใช้ 1-2 ตัน /ไร่ ช่วงเตรียมดินก่อนปลูก ใช้วิธีไถกลบคลุกดิน ช่วงบำรุง หว่านตามแนวปลูกและพรวนดินกลบก่อนปลูก อ้อยตอ หว่านบริเวณตออ้อย
นาข้าว : อัตราการใช้ 500-1,000 กก./ไร่ หว่านระยะเตรียมดิน หรือทำเทือก
ไม้ผล / ไม้ยืนต้น : มะม่วง มะนาว  ยางพารา มะขาม ลำไย อัตราการใช้ 10-30 กก./ต้น ( ขึ้นอยู่กับขนาดของหลุม ) โดยการรองพื้น/รองก้นหลุมก่อนปลูกและหว่านรอบๆทรงพุ่มหลังการเก็บเกี่ยว

       ในปี 2558 สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย ได้สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำ “โครงการผลิตและสาธิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดินในไร่อ้อย” งบประมาณ 546,600 บาท เป้าหมาย ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรจำนวน 200 ราย

ผลการดำเนินงาน

ได้ดำเนินการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 1,000 ตัน และมีแผนที่จะจัดอบรมให้ความรู้ในช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน 2558 สำหรับชาวไร่ที่เข้าร่วมโครงการและผ่านการอบรมจะได้รับปุ๋ยอินทรีย์รายละ 5 ตัน โดยจะแจกจ่ายในช่างเดือน สิงหาคม – กันยายน 2558


ส่วนประกอบ

ค่าวิเคราะห์ (%)

อินทรียวัตถุO.M

38.40

ความเป็นกรด-ด่างpH

6.22

ไรโตรเจนTot.N

1.76

ฟอสฟอรัสTot.P

1.15

โพแทสเซียมTot.K

0.57

 

การวิจัยและทดลองการใช้ปุ๋ยเคมีและสารปรับปรุงดินเอราวัณ

ในปี 2556-2557ศูนย์วิจัยและพัฒนา ได้ทำการผลิตสารปรับปรุงดินและนำไปทดลองผลตอบสนองร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีในรูปแบบต่างๆพบว่า  การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับวัสดุปรับปรุงดินเอราวัณ ในอัตรา 2 ตัน/ไร่ ให้ผลผลิตที่ดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

กรรมวิธีที่

ปุ๋ยรองพื้น

ปุ๋ยแต่งหน้า

วัสดุปรับปรุงดินเอราวัณ

ต้นทุนปุ๋ยเคมี

ต้นทุนวัสดุปรับปรุงดิน

ต้นทุนรวม

ผลผลิต

1

สูตร 16-16-8

75กก./ไร่

สูตร 21-7-18

75 กก./ไร่

-

2,025 บาท/ไร่

-

2,025 บาท/ไร่

13.90ตัน/ไร่

2

สูตร 21-7-18

30 กก./ไร่

สูตร 21-7-18

45 กก./ไร่

-

1,065 บาท/ไร่

-

1,065 บาท/ไร่

9.88ตัน/ไร่

3

สูตร 21-7-18

45 กก./ไร่

สูตร 21-7-18

45 กก./ไร่ 

2 ตัน/ไร่

1,278 บาท/ไร่

1,100 บาท/ไร่

2,375 บาท/ไร่

15.19ตัน/ไร่

โครงการผลิตอ้อยสะอาด ปลอดโรคใบขาว

 

 

ในปี พ.ศ.2558 บริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด โดยศูนย์วิจัยและพัฒนา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 345,000 บาท ในการจัดหาพันธุ์อ้อยสะอาดปลูกขยายเป็นแปลงพันธุ์ให้แก่เกษตรกร เพื่อควบคุมการระบาดของโรคใบขาว เริ่มดำเนินการปลูก ในเดือน มกราคม พ.ศ.2558

 

 

การผลิตพันธุ์อ้อยสะอาดโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

โรคใบขาวเป็นปัญหาในการผลิตอ้อยของไทย มีสาเหตุจากเชื้อไฟโตพลาสมา การแพร่ระบาดผ่านทางแมลงพาหะคือเพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล และทางท่อนพันธุ์ที่มีเชื้อ โดยสามารถแพร่กระจายได้กว้างขวางและรวดเร็วผ่านทางท่อนพันธุ์ การใช้พันธุ์อ้อยปลอดโรค จึงเป็นวิธีการสำคัญในการลดโรคใบขาว แต่อ้อยอาจติดเชื้อโรคใหม่จากแมลงพาหะ ดังนั้นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยอดอ่อน เป็นแนวทางหนึ่งที่มีศักยภาพ ในการจัดการโรคร่วมกับวิธีอื่นๆ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตต้นอ้อยที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิม และปลอดโรคใบขาว
  2. เพื่อส่งเสริมให้ชาวไร่ได้ใช้พันธุ์อ้อยปลอดโรค

 

โรคใบขาว ขั้นตอนการผลิตพันธุ์อ้อยสะอาด

เชื้อสาเหตุ : เชื้อไฟโตพลาสมา (Phytoplasma)

ลักษณะอาการของโรค : ต้นอ้อยที่เป็นโรคใบขาวจะมีขนาดเล็กและสั้น หรือใบเป็นฝอย มีสีเขียวซีด เขียวอมเหลือง สีขาวปนเหลืองไปจนถึงขาวซีด เนื่องจากคลอโรฟิลด์ในใบพืชถูกทำลาย ต้นอ้อยที่เป็นโรครุนแรงจะแตกหน่อและตาข้างมากกว่าปกติ และมีจำนวนลำในกอน้อย หรืออาจแตกกอเป็นพุ่มฝอยคล้ายกอหญ้า ไม่เจริญเติบโตและแห้งตายในที่สุด

การแพร่ระบาด :

1)ใช้ท่อนพันธุ์อ้อยที่มีการติดเชื้อโรคใบขาว

2)โดยแมลงพาหะ

1.การผลิตเนื้อเยื่อยอดอ่อน

1.1 เตรียมต้นกล้าอ้อยเพื่อมาตัดเนื้อเยื่อยอดอ่อน

1.2 นำยอดอ่อนไปเพาะเลี้ยงให้เกิดเป็นต้นในอาหารเหลว

1.3 ตรวจเชื้อโรคใบขาว ต้นอ้อยที่เกิดขึ้นโดยวิธีทางชีวโมเลกุล NestedPCR

1.4 นำต้นพันธุ์อ้อยที่ผ่านการตรวจโรค แยกขยายโดยเลี้ยงในอาหารเหลว

2.การอนุบาลกล้าอ้อยหลังเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ         

    นำต้นกล้าอ้อยจากการเลี้ยงในอาหารเหลวไปอนุบาลในโรงเรือนที่ป้องกันแมลง ระยะเวลาประมาณ 30-60 วัน

3.การขยายลงแปลง

นำต้นกล้าที่อนุบาลแล้ว ไปปลูกในแปลงพันธุ์

โดยใช้ช่วงระยะปลูก 0.5 X1.5 เมตร

ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลอดโรคใบขาว เพื่อจัดทำแปลงพันธุ์สำหรับส่งเสริมให้ชาวไร่ใช้เป็นท่อนพันธุ์ต่อไป

 

การใช้เครื่องมือในการปลูกและบำรุงรักษาอ้อย

การปลูกอ้อยโดยปกติมีการดำเนินการอยู่ 2 ช่วงเวลา คือ การปลูกอ้อยข้ามแล้ง และ การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งการปลูกและดูแลรักษาแปลงอ้อยเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญ ตั้งแต่การเตรียมดิน การเตรียมท่อนพันธุ์ การปลูก การบำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช ศูนย์วิจัยและพัฒนา บริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด ได้ให้ความสนใจในการศึกษาและส่งเสริมให้ชาวไร่ได้ใช้เครื่องมือที่ถูกต้องและเหมาะสมกับช่วงเวลาเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต รวมทั้งการทดแทนแรงงานที่ขาดแคลน โดยมีกิจกรรมและการใช้เครื่องมือต่างๆ ดังนี้

 

 

กิจกรรม

อ้อยข้ามแล้ง

อ้อยต้นฝน

เครื่องมือที่ใช้

1.การเตรียมดิน

ส.ค. – ก.ย.

มี.ค. – เม.ย.

1.ไถระเบิดดาน

2.พรวน 24 จาน

3.โรตารี่/PowerHarrow

2.การปลูก

ต.ค. – พ.ย.

เม.ย. – พ.ค.

1.เครื่องปลูกอ้อย (ลำอ้อย)

2.เครื่องปลูกอ้อย (อ้อยชำถุง)

3.การบำรุงรักษา

ธ.ค. – พ.ค.

มิ.ย. –ส.ค.

1.CutAway

2.พรวน 12 จาน ใส่ปุ๋ย

3.ริปเปอร์ใส่ปุ๋ย

4.โรตารี่ระหว่างร่อง

4.การเก็บเกี่ยว

ธ.ค. – มี.ค.

ก.พ. – เม.ย.

1.รถตัดอ้อย

2.เครื่องตัดพันธุ์อ้อย