กลุ่มบริษัทน้ำตาลเอราวัณ - Certificate
Certificate

กลุ่มบริษัทน้ำตาลเอราวัณ ได้ใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิตเพื่อให้มั่นใจว่าทุกผลผลิตภายใต้ตราสินค้า "มงกุฎทอง"เปี่ยมคุณภาพตามมาตรฐานการผลิต ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลจากหลายหน่วยงาน อาทิ เช่น

Profile

ระบบบริหารงานคุณภาพ( ISO 9001)

มาตรฐานการบริหารจัดการขององค์การ ซึ่งมุ่งเน้นด้านคุณภาพซึ่งจะทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพขององค์กร สามารถตอบ สนอง ความต้องการของลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอ แนวคิดสำคัญของ ISO 9001 คือการจัดวางระบบบริหารงาน เพื่อการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ได้รับการควบคุมและสามารถตรวจสอบได้โดยผ่านเอกสารที่ระบุขั้นตอน และวิธีการทำงานเพื่อให้มั่นใจได้ว่า บุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอน ต่างๆในการปฏิบัติงาน โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานมีการจดบันทึกข้อมูลรวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในเอกสารหรือไม่และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม บริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด ได้รับการรับรองระบบ ISO 9001 ตั้งแต่ ปีพ.ศ.2552.

ผู้ให้การรับรอง : SGS (Thailand)

Profile

หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร(GMP)

ข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็น ในการผลิต เพื่อให้ผู้ผลิตได้ปฏิบัติตามและให้สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพ และปลอดภัยหลักการของ GMP จึงครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร ระบบการผลิตที่ดีมีความปลอดภัยและมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบ ระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์ สำเร็จรูปการจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และ การขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย (Sanitation และ Hygiene).

ผู้ให้การรับรอง : SGS (Thailand)

Profile

ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม(HACCP )

เป็นระบบการจัดการ เพื่อความปลอดภัยของอาหาร โดยใช้การควบคุมจุดวิกฤต ที่ต้องควบคุม (CCP) ของการผลิต เพื่อป้องกันอันตราย หรือสิ่งปนเปื้อนทางชีวภาพ เคมี และกายภาพ ของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยตลอด ในวงจรของโซ่อาหารตั้งแต่ผู้ผลิตเบื้องต้น (Primary Producer) จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์.

ผู้ให้การรับรอง : SGS (Thailand)

Profile

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ำตาลทราย (มอก. 56-2552)

มาตรฐานการบริหารจัดการขององค์การ ซึ่งมุ่งเน้นด้านคุณภาพซึ่งจะทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพขององค์กร สามารถตอบ สนอง ความต้องการของลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอ แนวคิดสำคัญของ ISO 9001 คือการจัดวางระบบบริหารงาน เพื่อการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ได้รับการควบคุมและสามารถตรวจสอบได้โดยผ่านเอกสารที่ระบุขั้นตอน และวิธีการทำงานเพื่อให้มั่นใจได้ว่า บุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอน ต่างๆในการปฏิบัติงาน โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานมีการจดบันทึกข้อมูลรวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในเอกสารหรือไม่และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม บริษัท น้ำตาลเอราวัณ จำกัด ได้รับการรับรองระบบ ISO 9001 ตั้งแต่ ปีพ.ศ.2552.

ผู้ให้การรับรอง : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)

Profile

เครื่องหมายฮาลาล(Halal)

"เครื่องหมายฮาลาล” คือเครื่องหมายที่คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยหรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่าง ๆ ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการทำการประทับ หรือแสดงลงบนฉลากหรือผลิตภัณฑ์ หรือกิจการใด ๆ โดยใช้สัญลักษณ์ที่เรียกว่า “ฮาลาล”ซึ่งเขียนเป็นภาษาอาหรับว่า حلال‎ ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หลังกรอบเป็นลายเส้นแนวตั้ง ใต้กรอบภายในเส้นขนานมีคำว่า “สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” โดยเครื่องหมายดังกล่าวนี้ จะออกให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มผลิตภัณฑ์ฮาลาล และหรือเนื้อสัตว์ฮาลาลที่นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น อาหารฮาลาล คือ อาหารที่ไม่มีสิ่งต้องห้ามเจือปนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสัตว์นั้นจะต้องเป็นเนื้อฮาลาล และไม่เจือปนสิ่งฮะรอม (Haram) หรือสิ่งต้องห้ามบริโภคเช่น เหล้า หรือไขมันหมู เป็นต้น.

ผู้ให้การรับรอง : สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

Profile

เครื่องหมายโคเชอร์(Kosher)

“โคเชอร์” หรือ “คัชรูต” เป็นภาษาฮิบรู แปลว่า “สะอาด” หรือ “เหมาะสม” หรือ “เป็นที่ยอมรับ” เมื่อ “โคเชอร์”ถูกนำมาใช้ในบริบททางด้านข้อกำหนดในเรื่องอาหาร จึงหมายถึง อาหารที่สะอาดและเหมาะสม สอดคล้องกับข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทางศาสนาที่อนุญาตให้รับประทานได้ ผู้ศรัทธาในศาสนายูดายจึงต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดโคเชอร์อย่างเคร่งครัด เครื่องหมายโคเชอร์มีบทบาทสำคัญต่อการเพิ่มยอดขายของบริษัทอาหารเป็นอย่างมากธุรกิจอาหารไม่สามารถปฏิเสธเครื่องหมายรับรอง ซึ่งมีที่มาจากข้อกำหนดทางศาสนาได้ เพราะอาจหมายถึงความล้มเหลวทางธุรกิจ เพราะในปัจจุบัน ผู้ที่รับประทานอาหารโคเชอร์ ไม่ได้มีแค่ชาวยิวที่นับถือศาสนายูดายเท่านั้นแต่ยังครอบคลุมถึงผู้ที่ไม่ใช่ชาวยิวอีกหลายกลุ่ม เช่น ชาวมุสลิม เนื่องจากข้อกำหนดของอาหารโคเชอร์สอดคล้องกับบทบัญญัติเรื่องการรับประทานอาหารฮาลาลในคัมภีร์อัลกุรอ่าน เป็นต้น นอกจากนั้นผู้ที่รักสุขภาพหลายคนก็นิยมหันมารับประทานอาหารโคเชอร์มากขึ้น เพราะเชื่อว่าอาหารโคเชอร์มีความปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าอาหารปกติ เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการผลิตที่เข้มงวดในทุกขั้นตอนตลาดของอาหารโคเชอร์จึงควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนมากขึ้น.

ผู้ให้การรับรอง : สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

Profile

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001)

คือระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ถูกจัดทำขึ้นเพื่อปรับระดับการพัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อมให้เท่าเทียมกันในระหว่างประเทศที่จะทำธุรกิจติดต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรม ผลิตภัณฑ์หรือการบริการทุกประเภทเพื่อแก้ปัญหามลพิษและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของทุกประเทศในโลกโดยทำให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญทางด้านการตรวจสอบ ป้องกันผลกระทบและจัดการด้านสิ่งแวดล้อมแบบมีระเบียบให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจและกฎหมายทั้งในและนอกประเทศ ทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดมลพิษที่ปลายท่อโดยการใชัหลักการลดและขจัดมลพิษที่จุดกำเนิด ตามหลักการ ควบคุมคุณภาพในการดำเนินการและการผลิตลดการเสี่ยงภัยของผู้ทำงานในองค์กร และสาธารณชนจากผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วยการสร้างสัมพันธภาพอันดีงามกับผู้บริโภค พร้อมทั้งทำให้ได้เปรียบคู่แข่งที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานด้วย.

ผู้ให้การรับรอง : SGS (Thailand)

Profile

อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green Industrial)

อุตสาหกรรมสีเขียว หมายถึง อุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องรวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทานระบบสีเขียว หมายถึง การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตามประเมินผลและทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ.

ผู้ให้การรับรอง : กระทรวงอุตสาหกรรม